อธิการบดี มจร ยันมุ่งนำ AI ช่วยทำงานขับเคลื่อนองค์กรอย่างเป็นระบบ
หวังยกระดับเอกภาพเชิงนโยบายแต่หลากหลายในเชิงปฏิบัติ ปลุกชาวมหาจุฬาร่วมพลังทำงานมุ่ง Action แต่ไม่ Acting เลิกทำงานแบบ”ไม่ได้งาน ไม่ถูกงาน ไม่เป็นงาน ไม่เลิกงาน” เพิ่มความสัมพันธ์ส่วนตัวสำคัญกว่าความสัมพันธ์เชิงอำนาจหน้าที่
วันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร.อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร พัฒนาหลักสูตรระยะสั้นสันตินวัตกรรมหลักสูตรสันติศึกษา มจร เปิดเผยว่า ได้ร่วมรับฟังนโยบายการตรวจประเมินการปฏิบัติงานส่วนงานสนับสนุนการจัดการศึกษา ภายใต้หัวข้อ “ส่วนงานสนับสนุนการศึกษา : กลไกขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมาย” บรรยายและมอบนโยบายการทำงานโดย พระธรรมวัชรบัณฑิต, ศาสตราจารย์ ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวประเด็นสำคัญว่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๑๓๔ ปีทำให้สอดรับว่าความสำเร็จการทำงานโดยหน้าที่และเกื้อกูลพันธกิจส่วนใดขององค์กร
อธิการบดี กล่าวต่อว่า โดยมหาจุฬามุ่งจัดการศึกษาในการผลิตบัณฑิตเป็นหลัก โดยมีผู้บริหารและบุคลากรของมหาจุฬามีส่วนร่วมในทุกมิติ เพราะมหาจุฬาเป็นองค์กรที่มีขนาดใหญ่ทั่วประเทศ โดยเน้นความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานร่วมงานซึ่งมีทุนทางสังคมสนับสนุน ส่วนงานกระจายจะบริหารอย่างไรให้ “เป็นเอกภาพเชิงนโยบายแต่หลากหลายในเชิงปฏิบัติ” จะต้องสร้างความเป็นเอกภาพแต่มีความหลากหลายในเชิงปฏิบัติมีศูนย์กลาง เช่น ธนาคารมีกระบวนการอย่างไร จะต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้มีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเอา AI มาช่วยในการทำงานอย่างเป็นระบบ
โดยบุคลากรของมหาจุฬาระดับสูง ๓.๓๔ เปอร์เซ็นต์ คณาจารย์ ๔๖.๘๔ เปอร์เซ็นต์ และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป ๔๐.๒๑ เปอร์เซ็นต์ โดยผู้บริหารระดับสูงจะต้องส่องกล้องมองระดับวิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อน ซึ่งคณาจารย์มุ่งเน้นการสอนและการวิจัยเน้นผลิตบัณฑิตส่วนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการเป็นคนพายเรือ ซึ่งอาจารย์บางท่านมีจิตอาสาลงมาช่วยหลากหลายมิติแต่หน้าที่หลักของอาจารย์คือ การผลิตบัณฑิต มุ่งเน้นการสอนและการวิจัยพัฒนาเป็นหลัก จึงสอดรับกับ Best Organization ว่าสามารถแบ่งออก ๓ ประการ โดยบุคลากรระดับ Grade C ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ลักษณะผู้ไม่ทำงานแต่ทำให้เราได้สร้างบารมี Grade B ๗๐ เปอร์เซ็นต์ เป็นกลุ่มขับเคลื่อนการทำงานเก่งคนละด้านแต่มาร่วมมือกัน Grade A ๒๐ เปอร์เซ็นต์ กลุ่มที่มุ่งมั่นการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ถามว่างานคืออะไร จึงสามารถแบ่งออก ๔ ประเภท คือ ๑)งานWork เป็นงานหลักงานตามพันธกิจ ๒)งานJob รับงานไปทั่วเป็นงานรองรับพิเศษ ๓)งานActivity พวกกิจกรรมโครงการต่างๆ จอมอีเวน สร้างเครือข่าย ทำให้องค์กรมีสีสัน ๔)งานCeremony งานร่วมพิธีกรรมมอบวุฒิบัตรเกียรติบัตร ทำให้เสียเวลามากทำให้งานWork ไม่ได้ทำ จึงขอให้เรามุ่งงานหลักงานตามพันธกิจ งานจะต้องนำไปสู่Action ส่วน Job Activity Ceremony เป็นเพียง Acting
โดยการทำงาน ๔ แบบ จึงประกอบด้วย ๑)ทำงานไม่ได้งาน ๒)ทำงานไม่ถูกงาน ๓)ทำงานไม่เป็นงาน ๔)ทำงานไม่เลิกงาน เป็นการทำงานไม่มีการสรุปงานเป็นการทำทิ้ง โดยจัดลำดับความสำคัญในการทำงานประกอบด้วย สำคัญมากเร่งด่วนมากทำทันที สำคัญมากเร่งด่วนน้อยต้องทำ สำคัญน้อยเร่งด่วนมากทำโดยเร็ว และสำคัญน้อยเร่งด่วนน้อยทำทีหลัง สิ่งสำคัญคือ “ความสัมพันธ์ส่วนตัวสำคัญกว่าความสัมพันธ์เชิงอำนาจหน้าที่” จะต้องมีความสามัคคีส่งผลให้งานเกิดประสิทธิภาพแต่ถ้ามีความขัดแย้งจะต้องส่งผลให้งานขาดประสิทธิภาพ โดยสอดรับกับหุ้นส่วน ลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยใช้อำนาจร่วมมากกว่าอำนาจเหนือจึงต้องรักษาความสัมพันธ์ให้ดีเพื่อการทำงานให้มีประสิทธิภาพ โดยแต่ละส่วนงานทำงานตามพันธกิจมุ่งดูปฏิทินการทำงานของแต่ละหน่วยงาน จะต้องเน้นการสนับสนุนการทำงาน โดยคำนึงถึงพันธกิจหลักของมหาจุฬาคือ ผลิตบัณฑิต วิจัย ส่วนพันธกิจรองคือ บริการวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม โดยเกณฑ์กระกันคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย องค์ ๑ คือการผลิตบัณฑิต องค์ ๒ คือวิจัย องค์ ๓ คือบริการวิชาการ องค์ ๔ คือทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม และองค์ ๕ คือบริหารจัดการ ในการประเมินดูอะไรดูอย่างไร โดยคำนึงถึงคู่มือการปฏิบัติงาน ปฏิทินงานประจำปี แผนพัฒนาส่วนงาน แผนปฏิบัติการประจำปี สรุปการโครงการ สอดรับกับ PDCA อย่างไร มีการประชุมภายในอย่างไร มีผลสำเร็จตามแผนว่าสนับสนุนการผลิตบัณฑิตและการวิจัย จะต้องมีการประชุมตามแนวทางอปริหานิยธรรมผ่านกระบวนการออนไลน์
มีการดูวิธีการทำงานเสริมการทำงานให้มีประสิทธิภาพ เช่น กระบวนการของ PDCA และ ๕ ส. TQM หรือ อิทธิบาท ๔ สังคหวัตถุธรรม ซึ่งการประเมินผลต้องใช้อายตนะภายในด้วยมิใช่ใช้อายตนะภายนอกอย่างเดียว ทำให้เราเน้นวิธีการทำงานยุคใหม่ Cross-Functional Working โดยบุคลากรเจ้าหน้าที่ทำงานต้องการความมั่นคงในหน้าที่การทำงาน แต่เราต้องเพิ่มทักษะประสิทธิภาพของคนที่มีในปัจจุบัน จะต้องมีปรโตโฆสะในการทำงาน ซึ่งอนาคตเราจะเข้าสู่ SDGs เข้าสู่ระดับโลกเพื่อสร้างเข้มแข็งให้มหาจุฬาเพื่อสนับสนุนงานของคณะสงฆ์และสังคมประเทศชาติต่อไป
พระปราโมทย์ กล่าวด้วยว่า ดังนั้น พระธรรมวัชรบัณฑิต พยายามย้ำว่าจงใช้ความสัมพันธ์ส่วนบุคคลมากกว่าการใช้อำนาจตามหน้าที่ โดยยกระดับเอกภาพเชิงนโยบายแต่หลากหลายในเชิงปฏิบัติ จึงมีการปลุกชาวมหาจุฬาร่วมพลังทำงานมุ่ง Action แต่ไม่ Acting เท่านั้น ซึ่งความสัมพันธ์ส่วนตัวสำคัญกว่าความสัมพันธ์เชิงอำนาจหน้าที่ โดยการทำงานที่เอื้อเกื้อกูลแก่กัน มุ่งทำงานแบบ Work เป็นการทำงานหลักงานตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย ถือว่าเป็น Action ส่วน Job Activity Ceremony เป็นเพียง Acting เท่านั้น