วิทยาลัยสงฆ์เพชรบุรี สังกัด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแห่งคณะสงฆ์ไทย เป็นสถานบันการศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์ ซึ่งสมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้าสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนาขึ้นเมือ พ.ศ. ๒๔๓๒ มีชื่อเดิมว่า “มหาธาตุวิทยาลัย” และมีพระบรมราชโองการเปลี่ยนนามใหม่ว่า “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” เมื่อ วันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๙ โดยมีพระราชประสงค์จะให้เป็นอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติยศของพระองค์สืบไป โดยมีปณิธานคือ “ศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง สำหรับพระภิกษุ สามเณรและคฤหัสถ์”

วิทยาลัยสงฆ์เพชรบุรี ถือกำเนิดเริ่มต้น นับแต่วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๔๙ คณะกรรมการและชาบ้านได้ปรึกษาหารือถึงความน่าจะเป็นไปได้ในการจัดตั้งหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ วัดต้นสน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เหตุผลมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมบ้านเกิดเมืองนอนของตน จึงเห็นสมควรให้ เป็นวิชารัฐศาสตร์หรือเกี่ยวกับการบริหารการเมืองเป็นดีที่สุด ในวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๔๐ ได้รับความเมตตานุเคราะห์จากพระราชสุวรรณมุนี เจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรี มาเป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยคณะกรรมการวัดต้นสน เรื่อง การจัดตั้งหน่วยวิทยบริการฯ มจร. ณ วัดต้นสน เป็นครั้งแรกของการประชุมอย่างเป็นทางการในส่วนท้องถิ่น วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ นายสยุมพร ลิ่มไทย ผู้ว่าราชาการจังหวัด เพชรบุรี พร้อมด้วยข้าราชการและประชาชนทั่วไปจำนวน ๒๖ ท่านได้ร่วมประชุมรับทราบ การจัดตั้งหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ วัดต้นสน จังหวัดเพชรบุรี จากพระครูพัชรคุณาทร พร้อมคณะกรรมการดำเนินงานจาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นับเป็นครั้งแรกที่ท่านผู้ว่าราชาการจังหวัดเพชรบุรีได้ให้เกียรติเข้าร่วมประขุมวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑ นายไกร บุญบันดาล นายอำเภอบ้านแหลม นายกเทศมนตรีเทศบาลบ้านแหลม พร้อมผู้นำชุมชนในเขตอำเภอบ้านแหลม ได้เข้าร่วมประชุมกับพระครูพัชรคุณาทร ถึงการดำเนินงานเตรียมต้อนรับคณะกรรมการ ตรวจสอบ ความพร้อมฯ จากคณะกรรมการ มจร. วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ นายสยุมพร ลิ่มไทย ผู้ว่าราชาการจังหวัดเพชรบุรี พร้อมด้วยข้าราชการ ผู้นำชุมชนในเขตอำเภอบ้านแหลมและเขตใกล้เคียง และผู้ให้การ สนับสนุนให้เกียรติมาร่วมประชุมต้อนรับคณะกรรมการตรวจสอบความพร้อม จาก มจร.(ส่วนกลาง) วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ คณะกรรมการตรวจสอบความพร้อมฯ ได้รายงานผลการตรวจสอบความพร้อม ต่อสภาวิชาการและวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ คณะกรรมการสภาวิชาการได้เรียนเชิญพระครูพัชรคุณาทร เจ้าอาวาสวัดต้นสน เข้าร่วมชี้แจงในสภาวิชาการ พร้อมมีมติเห็นชอบให้เสนอต่อสภามหาวิทยาลัย วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ได้มีมติสภามหาวิทยาลัยออกประกาศ “ให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เปิดหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ วัดต้นสน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โดยเริ่มดำเนินการจัดการศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๑ เป็นต้น” ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑ ลงนาม (พระธรรมสุธี) นายกสภามหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑ พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺจิตฺโต) อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประธานในพิธีเปิด หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ วัดต้นสน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โดยมีพระราชสุวรรณมุนี เจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรี นายเกียรติศักดิ์ ธนวัฒนากูล รองผู้ว่าราชาการจังหวัดเพชรบุรี นายไกรบุญ บันดาล นายอำเภอบ้านแหลม ข้าราชาการ ประชาชนทั่วไปและนิสิตใหม่ จำนวน ๖๐ คน ได้เข้าร่วมในพิธีถือเป็นเกียรติประวัติและประวัติศาสตร์แก่วัดต้นสนและอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เป็นอย่างยิ่งพร้อมกันนี้ สภามหาวิทยาลัย ได้มีมติอนุมัติ ในคราวประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๕๑ เมื่อวันพุธที่ ๒๘ สิงหาคม  พ.ศ.๒๕๕๑ ให้เปิดสอนหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๑เป็นต้นไป

 ต่อมาในปี๒๕๕๒ ถือเป็นก้าวสำคัญของคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบุรี เมื่อพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณ พระพิพิธพัชโรดม เจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรี เจ้าอาวาส วัดพระรูป ซึ่งในขณะนั้นได้ดำรงสมณศักดิ์ในพระราชทินนาม “พระครูอนุกูลวชิรกิจ” เจ้าคณะอำเภอเมืองเพชรบุรี ซึ่งมีความสนใจในใฝ่รู้ด้านการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม มีแนวคิดที่จะพัฒนาความรู้ความสามารถให้แก่คณะสงฆ์จังหวัดเพชรบุรีโดยเฉพาะพระสังฆาธิการ จึงปรึกษาหาแนวทางในการจัดการศึกษาสำหรับพระสงฆ์กับ ดร.พิเชฐ ทั่งโต ผู้อำนวยการหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดต้นสน จังหวัดเพชรบุรีในขณะนั้นโดยได้ประสานงานไปยัง ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ เพื่อขอเปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ป.บส.) โดยได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจาก พระเทพสุวรรณโมลี ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๕ เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุวรวิหาร (พระอารามหลวง) ซึ่งขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์ในพระราชทินนาม ที่ “พระราชสุวรรณมุนี” หลังจากนั้นจึง ได้รับอนุมัติจากสภาวิชาการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒ ให้คณะสงฆ์จังหวัดเพชรบุรี เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์  (ป.บส.) ณ วัดพระรูป อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี โดยได้รับความสนใจจาก เจ้าคณะ พระสังฆาธิการของจังหวัดเพชรบุรี เข้าศึกษาเป็นจำนวนมาก

และหลังจากที่ คณะพระสังฆาธิการที่ได้ศึกษาหลักสูตรประกาศียบัตรบริหารกิจการคณะสงฆ์ ณ วัดพระรูป ตำบลช่องสะแก อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี สำเร็จการศึกษา ได้เห็นสมควรว่า เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาของคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบุรี จึงได้มีฉันทามติร่วมกัน ให้ดำเนินการเปิดสอนหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดเชิงพุทธ ดังนั้น เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒ คณะสงฆ์จังหวัดเพชรบุรี โดยพระราชสุวรรณมุนี เจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรี (ในขณะนั้น) ได้มีหนังสือถึงมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อขออนุมัติเปิดสอนหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ ที่หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ วัดต้นสน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โดยสภาวิชาการมหาวิทยาลัย ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบและอนุมัติ โดยใช้ ห้องเรียน วัดพระรูป ตำบลช่องสะแก อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เป็นสถานศึกษา และในปีการศึกษา ๒๕๕๓ ได้มีมติคณะกรรมการประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ อนุมัติเปิดสอนหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์  ณ วัดต้นสน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี และมติสภาวิชาการ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๓ วันพฤหัสบดี ที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๓ โดยสภาวิชาการมหาวิทยาลัย ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบและอนุมัติ 

ด้วยเหตุผลด้านความพร้อมทั้งในสถานที่ และในการบริหารการจัดการ ปีการศึกษา ๒๕๕๖ สภามหาวิทยาลัย จึงมีมติอนุมัติ ในความประชุม ครั้งที่ ๘/๒๕๕๖ เมื่อวันพุธที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๖ ให้ย้ายสถานที่ตั้งหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ จังหวัดเพชรบุรี   เดิมตั้งอยู่ ณ วัดต้นสน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ไปยังสถานที่ตั้งใหม่ ณ วัดพระรูป อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ตั้งแต่วันพุธที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๖ เป็นต้นไปหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดพระรูป ตำบลช่องสะแก มีนโยบาทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ ได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่เปิดกว้างเพื่อพัฒนาตนและสังคมมากยิ่งขึ้น ภายใต้สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกที่เอื้อต่อการจัดการศึกษาในระดับวิทยาลัยมีฐานะเทียบเท่าคณะ จึงเสนอโครงการจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์เพชรบุรี ในช่วงแผนพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะที่ ๑๑ (พ.ศ.๒๕๕ – ๒๕๕๙) เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์สงฆ์ พุทธศักราช ๒๕๔๗ ซึ่งดังกล่าวหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยได้พิจารณาให้ความเห็นชอบและอนุมัติตามลำดับดังนี้

๑) ปีการศึกษา ๒๕๕๘ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ดำเนินการตรวจประเมินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ วัดพระรูป จังหวัดเพชรบุรี หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ และหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ แล้วนั้น คณะกรรมการการอุดมศึกษาในคราวประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๘ มีมติเห็นชอบผลการตรวจประเมินในหลักสูตรทั้งสองหลักสูตรมีผลการประเมินระดับ “ต้องปรับปรุง”

๒) ในปีการศึกษา ๒๕๖๐ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ดำเนินการตรวจประเมินซ้ำการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ ทั้ง ๒ หลักสูตร คณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ได้มีมติเห็นชอบผลการตรวจประเมินซ้ำในหลักสูตรดังกล่าว โดยมีผลการประเมินระดับ “ผ่าน” ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ ๑/๒๕๕๕

๓) คณะกรรมการศึกษาข้อมูลและตรวจความพร้อมการจัดตั้งวิทยาลัย มีมติเห็นชอบโครงการจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์เพชรบุรี ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดตั้งวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒

๔) สภาวิชาการให้ความเห็นชอบให้ยกฐานะหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ วัดพระรูป จังหวัดเพชรบุรี เป็นวิทยาลัยสงฆ์เพชรบุรี ในคราวประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒

๕) สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีมติอนุมัติ ให้หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ วัดพระรูป จังหวัดเพชรบุรี เป็น วิทยลัยสงฆ์เพชรบุรี ในคราวประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๒ เมื่อวันจันทร์ที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒

๖) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ประกาศข้อกำหนดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง การจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์เพชรบุรี พุทธศักราช ๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน เล่มที่ ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๑๐๔ ง ไว้ดังนี้

“ให้จัดตั้งหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งตั้งอยู่ ณ วัดพระรูป เลขที่ ๖๕/๑ หมู่ ๖ ตำบลช่องสะแก อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เป็นวิทยาลัยสงฆ์เพชรบุรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๒ เป็นต้นไป”