Skip to content
โครงการพัฒนาศักยภาพ การวิจัยทางพระพุทธศาสนาเพื่อความก้าวหน้าในประชาคมอาเซียน จัดโดย ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ( สำหรับวิทยาเขต และวิทยาลัยสงฆ์ เท่านั้น ) โดยมี พระราชวรเมธี,ดร. ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มจร เป็นประธานกล่าวเปิดงานและให้โอวาทแก่ผู้เข้าร่วมประชุม ระยะที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ๔๐๒ อาคารสำนักงานอธิการบดี
————————————-
(กองสื่อสารองค์กร มจร รายงาน )
โครงการพัฒนาศักยภาพ การวิจัยทางพระพุทธศาสนาเพื่อความก้าวหน้าในประชาคมอาเซียน จัดโดย ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ( สำหรับวิทยาเขต และวิทยาลัยสงฆ์ เท่านั้น ) โดยมี พระราชวรเมธี,ดร. ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มจร เป็นประธานกล่าวเปิดงานและให้โอวาทแก่ผู้เข้าร่วมประชุม ระยะที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ๔๐๒ อาคารสำนักงานอธิการบดี
กล่าวว่า…ศูนย์อาเซียนที่ผ่านมามีการพัฒนาด้านภาษา เพื่อความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รองรับความเติบโตของมหาวิทยาลัย พัฒนาบุคลากรควบคู่ไปพร้อมประชาคมอาเซียน มีการพัฒนาทางด้านกายภาพ ซึ่งในพศ.๒๕๔๓ เริ่มมีการสร้าง มจร.วังน้อย จึงมีการพัฒนาการมาเรื่อยๆ กำลังจะพัฒนาเป็นวัดมหาจุฬาฯ เป็นภาพรวมทางกายภาพ โดยมจร.มีพื้นที่จำนวน ๘๔ ไร่
มจร.จะเปิดหลักสูตรนานาชาติ เพื่อให้พระสงฆ์นานาชาติ มาเรียนวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ เพื่อสอดคล้องกับประชาคมอาเซียน ฉะนั้น การเรียนการสอนมหาจุฬาเรียนทั้งทฤษฎีและฝึกปฏิบัติควบคู่กัน มหาวิทยาลัยถ้าจะเติบโตบุคลากรต้องเก่งภาษา จึงตั้งสถาบันภาษา เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารสากลเป็นสำคัญ หลักสูตรภาษาอังกฤษจะไปรวมอยู่ที่วิทยาลัยพุทธศาสตรนานาชาติ และศูนย์อาเซียนศึกษา ซึ่งศูนย์อาเซียนกำลังสร้างศูนย์อาเซียนเป็นสำนักงาน เรามีการอบรมเด็กเยาวชนอาเซียน และ โครงการลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งสถาบันภาษาได้รับภาระงานนี้
การวิจัยครั้งนี้ เราจะนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร ?
พัฒนาด้านองค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนา จะนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร ? เราต้องการให้นักวิจัยรุ่นใหม่ได้มีการพัฒนาศักยภาพ ซึ่งการวิจัยถือว่าเป็นงานหลักของมหาวิทยาลัย ผู้มีประสบการณ์ควรมีไปหาแหล่งทุนข้างนอกบ้าง หัวใจการวิจัยคือ “จะนำองค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้อย่างไร ?” เพื่อให้สอดคล้องกับประชาคมอาเซียน เช่น เรื่องการศึกษา ถ้าเราเอา “การศึกษา” เป็นหัวข้อการวิจัย เราสามารถเข้าได้ทุกประเทศ แต่ถ้าเราเอา “ศาสนา” มาเป็นหัวข้องานวิจัย เราอาจจะเข้าได้เฉพาะบางประเทศ เช่น การศึกษาแต่ละประเทศมีบริษทอย่างไร ? หรือ ศาสนาวัฒนธรรม แต่ละประเทศมีบริษทอย่างไร? หรือ จะใช้เศรษฐกิจพอเพียง เป็นตัวเชื่อมกับประชาคมอาเซียน เพราะเชื่อมโยงได้กับทุกศาสนา เพราะเป็นวิถีชีวิตของแต่ละประเทศ โดยลงไปศึกษาในชุมชน ฉะนั้น วันนี้มาเรียนรู้พัฒนาแลกเปลี่ยนเพื่อเป็นการต่อยอด มจร.ซึ่งมีความสัมพันธ์ทุกประเทศในประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา ทาง มจร.มีนโยบายว่า ถ้าจะจัดสัมมนาหรืออบรมในช่วงนี้ ให้จัดในส่วนกลาง หรือ วิทยาลัยเขตเท่านั้น เพราะเรามีทั้งพระและฆราวาส เพื่อให้เหมาะสมกับสมณสารูปด้วย…ฉะนั้น “เราจะสร้างองค์ความใหม่ได้อย่างไร” เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง
————————————-
(กองสื่อสารองค์กร มจร รายงาน )